ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ IMO

สถานะอนุสัญญา

/

Aide-mémoire for Thailand

aidmemoire

ข้อมูลทั่วไปของ ประเทศไทย

General Information of Thailand

(Ministry of Commerce and Bank of Thailand, 2021)

Container Throughput

M
Thailand
million TEUs
M
Laem Chabang Port
million TEUs

Port Performance (UNCTAD, 2021)

21
Port Ranking
36
6,060 Thousand DWT
15
World's Top
Port of Calls
17
Port Liner Shipping
Connectivity Index

ข้อมูลทั่วไปของ ประเทศไทย

ประเทศไทยตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีขนาดใหญ่เป็นอันดับที่ 50 ของโลก มีเนื้อที่ 513,120 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรมากเป็นอันดับที่ 20 ของโลก คือ ประมาณ 70 ล้านคน มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ประเทศพม่าทางทิศเหนือและตะวันตก ประเทศลาวทางทิศเหนือและตะวันออก ประเทศกัมพูชาทางทิศตะวันออก
แบ่งทะเลออกเป็น 2 ฝั่ง คือฝั่งทะเลอ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน มีระยะทาง ตามแนวชายฝั่งรวมกันประมาณ 3,148.23 กิโลเมตร ฝั่งทะเลอ่าวไทยมีความยาวชายฝั่งรวม 2,055.18 กิโลเมตร ซึ่งตั้งอยู่ในส่วนของทะเลจีนใต้ มหาสมุทรแปซิฟิก สำหรับฝั่งทะเลอันดามันมีความยาวชายฝั่งรวม 1,093.14 กิโลเมตร เป็นทะเลเปิดออกสู่มหาสมุทรอินเดีย

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

คาดว่าจะขยายตัวร้อยละ 3.2 เร่งขึ้นจากร้อยละ 1.5 ในปี 2564 ขณะที่อัตราเงินเฟ้อคาดว่าจะอยู่ที่ร้อยละ 6.3 และดุลบัญชี เดินสะพัดขาดดุลร้อยละ 3.6 ของ GDP
แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2565

แนวโน้มเศรษฐกิจไทยปี 2566 คาดว่าจะขยายตัวในช่วงร้อยละ 3.0 - 4.0 โดยมีแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว การขยายตัวต่อเนื่องของอุปสงค์ในประเทศทั้งการบริโภคและการลงทุน และการขยายตัวของการผลิตภาคเกษตร ทั้งนี้ คาดว่าการอุปโภคบริโภคภาคเอกชนจะขยายตัวร้อยละ 3.0 ส่วนการลงทุนภาคเอกชนและการลงทุนภาครัฐขยายตัวร้อยละ 2.6 และร้อยละ 2.4 ตามลำดับ และมูลค่าการส่งออกสินค้าในรูปดอลลาร์ ขยายตัว ร้อยละ 1.0 อัตราเงินเฟ้อทั่วไปเฉลี่ยอยู่ในช่วงร้อยละ 2.5 - 3.5 และดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลร้อยละ 1.1 ของ GDP

ดัชนีปริมาณและมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้า

เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า
ปริมาณและมูลค่าการนำเข้าและส่งออกสินค้า

ในปี 2564 ดัชนีปริมาณสินค้าเข้ามีค่า 105.90 เพิ่มขึ้นจาก 89.82 ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็น ร้อยละ 17.90 และดัชนีปริมาณสินค้าออกมีค่า 114.86 เพิ่มขึ้นจาก 99.47 ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 15.47 นอกจากนี้ การค้าระหว่างประเทศมีมูลค่าประมาณ 17,095 พันล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 13,660 พันล้านบาท ในปี 2563 หรือเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 25.14 โดยเฉพาะใน ประเทศและกลุ่มประเทศที่สำคัญ ได้แก่ ASEAN สาธารณรัฐ ประชาชนจีน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา สหภาพยุโรป ตะวันออกกลาง และ BIMSTEC

ประเทศไทยมีท่าเรือรวมทั้งสิ้น

ประกอบด้วยท่าเรือตู้สินค้า ท่าเรือกองประเภทสินค้าแห้งและเหลว
ประเทศไทยมีท่าเรือรวมทั้งสิ้น

ในปี 2565 ประเทศไทยมีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าเรือทั่วประเทศ 11.67 ล้าน TEUs โดยมีท่าเรือแหลมฉบังเป็นท่าเรือตู้สินค้าหลักของประเทศ มีปริมาณการขนส่งตู้สินค้า 8.73 ล้าน TEUs เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.73 จากปีก่อนหน้า ซึ่งจัดเป็นท่าเรือที่มีปริมาณตู้สินค้าผ่านท่าอยู่ในอันดับที่ 19 ของโลก (สถิติครึ่งปีแรกของปี 2565)

ทะเลอ่าวไทยและทะเลอันดามัน มีระยะทางตามแนวชายฝั่งรวมกันประมาณ 3,148.23 กิโลเมตร

ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับ IMO

ประเทศไทยเข้าเป็นสมาชิก IMO เมื่อเดือนกันยายน 1973 (พ.ศ. 2516) และมีข้อผูกพันทางการเงินในฐานะรัฐสมาชิกในการชำระเงินอุดหนุน (Contribution) ให้แก่ IMO เป็นประจำทุกปี ซึ่งมีอัตราแปรผันตามสัดส่วนจำนวนตันกรอสเรือพาณิชย์ที่ชักธงไทย นอกจากนี้ ประเทศไทยยังจะต้องดำเนินการต่าง ๆ ตามนโยบายและข้อมติที่ประชุมต่าง ๆ รวมทั้งมีสิทธิในการขอรับความช่วยเหลือทางวิชาการเพื่อเสริมสร้างขีดความสามารถ สำหรับการปฏิบัติตามมาตรฐานและข้อบังคับภายใต้อนุสัญญาฉบับต่าง ๆ ทั้งในฐานะรัฐเจ้าของธง (Flag State) รัฐเมืองท่า (Port State) และรัฐชายฝั่ง (Coastal State)

ประเทศไทยได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกคณะมนตรี IMO กลุ่ม C ตั้งแต่การประชุมสมัชชาสมัยสามัญ ครั้งที่ 24 เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2548

ประเทศไทยเข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการ รวมทั้งการประชุมที่เกี่ยวข้องของ IMO อย่างสม่ำเสมอ โดยมีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง อาทิ กรมเจ้าท่า สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม กระทรวงการต่างประเทศ กรมควบคุมมลพิษ กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง กรมศุลกากร และการท่าเรือแห่งประเทศไทย เพื่อพิจารณาและให้การรับรองมาตรฐานข้อบังคับต่าง ๆ ด้านความปลอดภัย การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการเดินเรือ

เอกอัครราชทูต ณ กรุงลอนดอน ได้รับการแต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งเป็นผู้แทนถาวรประจำ IMO อีกตำแหน่งหนึ่ง โดยเอกอัครราชทูตฯ จะทำหน้าที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนเข้าร่วมการประชุมในหลายโอกาส รวมทั้งส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีกับผู้แทนประเทศสมาชิก IMO นอกจากนี้ กระทรวงคมนาคมยังได้ส่งผู้ช่วยทูตฝ่ายกิจการทางทะเลประจำการ ณ กรุงลอนดอน (Maritime Attaché) ทำหน้าที่ติดต่อประสานงานความร่วมมือกับคณะมนตรี รัฐบาลประเทศต่าง ๆ ซึ่งเป็นสมาชิกของ IMO รวมทั้งหน่วยงานต่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศที่มีสำนักงานในสหราชอาณาจักร ตลอดจนหาข้อมูลและวิเคราะห์เชิงลึกเพื่อจัดทำรายงานและข้อเสนอแนะประกอบการตัดสินใจ แนวทางในการกำหนดนโยบาย และท่าทีของประเทศไทยด้านคมนาคมขนส่ง โดยเฉพาะการขนส่งทางน้ำและพาณิชยนาวี

ประเทศไทยให้การสนับสนุนงานด้านวิชาการของ IMO อาทิ การบริจาคเงินเข้ากองทุนความร่วมมือทางวิชาการ (Technical Cooperation Fund: TC Fund) ของ IMO เพื่อสนับสนุนการดำเนินงานของมหาวิทยาลัยทางทะเลโลก (World Maritime University: WMU) ซึ่งเป็นสถาบันการศึกษาภายใต้การกำกับดูแลของ IMO ปีละ 250,000 บาท เป็นประจำทุกปี ตั้งแต่ปี 2535 เป็นต้นมา และการเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) ระดับภูมิภาคอย่างสม่ำเสมอ

หน่วยงานในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่รับผิดชอบงาน IMO

กองการต่างประเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงคมนาคม

ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการคณะกรรมการแห่งชาติเพื่อประสานงานกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการดำเนินกิจกรรมการขนส่งทางน้ำ การดำเนินการและปฏิบัติตามนโยบาย แผนงาน และเป้าหมายที่เป็นไปตามมติของคณะกรรมการแห่งชาติฯ หรือตามที่กระทรวงคมนาคมได้กำหนดไว้

กรมเจ้าท่า

ทำหน้าที่เป็น Maritime Administration ในการกำกับดูแลมาตรฐานงานด้านต่าง ๆ อาทิ ความปลอดภัย การคุ้มครองสิ่งแวดล้อม และการอำนวยความสะดวกในการเดินเรือเพื่อให้เป็นไปตามมาตรฐานระหว่างประเทศของ IMO โดยมีหน่วยงานภายนอกกระทรวงคมนาคมให้การสนับสนุน และร่วมกันดำเนินงานในส่วนที่เกี่ยวข้องในฐานะรัฐเมืองท่า รัฐเจ้าของธง และรัฐชายฝั่ง

การท่าเรือแห่งประเทศไทย

เป็นรัฐวิสาหกิจในสังกัดกระทรวงคมนาคมที่ดำเนินกิจการท่าเรือที่ให้บริการด้านเรือและสินค้า และเป็นโครงสร้างพื้นฐานสำคัญด้านการขนส่งทางน้ำ ที่มีบทบาทต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ ในฐานะเป็นประตูการค้าเชื่อมโยงเศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ มีท่าเรือหลักภายใต้การบริหารจัดการ จำนวน 2 ท่า ได้แก่ ท่าเรือแหลมฉบัง และท่าเรือกรุงเทพ รวมทั้งบริหารจัดการท่าเรือภูมิภาคอีกจำนวน 3 ท่า ได้แก่ ท่าเรือระนอง ท่าเรือพาณิชย์เชียงแสน และท่าเรือเชียงของ

สถานะอนุสัญญา การดำเนินงานของไทยในเวที IMO

ณ วันที่ 22 กันยายน 2565
Chrome

สถานะอนุสัญญา การดำเนินงานของไทยในเวที IMO

  • IMO Convention 48
  • SOLAS Convention 74
  • LOAD LINES Convention 66
  • TONNAGE Convention 69
  • COLREG Convention 72
  • STCW Convention 78
  • IMSO Convention 76
  • INMARSAT OA 76
  • FACILITATION Convention 65
  • MARPOL 73/78 (Annex I/II)
  • CLC Protocol 92
  • FUND Protocol 92
  • SALVAGE Convention 89
  • OPRC Convention 90

วีดีโอ - ครบรอบ 50 ปี ความสัมพันธ์ระหว่างไทยกับองค์การทางทะเลระหว่างประเทศ (IMO)

ทวิตเตอร์